ประกวดโครงงานครั้งที่ 16 “ค้นคว้าอิสระปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์”

กำหนดการ

วันที่

เปิดรับสมัครลงทะเบียน (ส่งเฉพาะ abstract) ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - 15 เมษายน 2567
ประกาศผลโครงงานที่ผ่านรอบคัดเลือก รอบสุดท้าย ภายใน วันที่ 17 เมษายน 2567 30 เมษายน 2567
ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายส่งไฟล์นำเสนอและรูปเล่มโครงงานฉบับเต็ม ภายใน วันที่ 2 มิถุนายน 2567
นักศึกษานำเสนอผลงานในงานประชุม Siam Physics Congress 2024 (SPC 2024) วันที่ 6 มิถุนายน 2567

เงื่อนไขและเอกสารประกอบการสมัคร

โครงงานค้นคว้าอิสระที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นโครงงานอิสระระดับปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ ของบัณฑิต วท.บ. ฟิสิกส์ ปีการศึกษา 2565 หรือ นักศึกษาที่จะกำลังสำเร็จการศึกษา วท.บ. ฟิสิกส์ ปีการศึกษา 2566 โดยมีเอกสารประกอบการสมัครดังนี้

รอบแรก
  • Abstract Template for Physics Project 2024
  • แบบยินยอมให้ส่งผลงานเข้าประกวดจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครง งานค้นคว้าอิสระ
รอบสอง
โครงงานที่ผ่านเข้ารอบ กรุณาอ่านประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนค่าใช้จ่าย และ แนวปฏิบัติสำหรับการเข้าประกวด
  • ประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนค่าใช้จ่าย >> Download File
  • แนวปฏิบัติสำหรับการเข้าประกวด >> Download File
  • ไฟล์รายงานโครงงานอิสระฉบับสมบูรณ์ ส่งได้ที่ >> Link
  • การนำเสนอผลงาน ภาษาที่จะใช้ในการนำเสนอรอบสุดท้าย ท่านสามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
รางวัลชนะเลิศ
  • ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  • เงินรางวัล 25,000 บาท + ประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : เงินรางวัล 15,000 บาท + ประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : เงินรางวัล 10,000 บาท + ประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ (2 รางวัล) : เงินรางวัล 5,000 บาท + ประกาศนียบัตร

หมายเหตุ: ผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับรางวัลประกาศนียบัตรทุกคน


ประกาศผลโครงงานที่ผ่านรอบคัดเลือก รอบแรก

ลำดับ

ชื่อ - นามสกุล

มหาวิทยาลัยที่สังกัด

ชื่อโครงงาน ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ

1 Parita Jumpaburee Khon Kaen University Exploring the Effects of Different External Pressures on Sodium Deposition Behavior in Sodium Anode-Free Batteries through an In-Depth Investigation
2 กิตติพงศ์วิระ พรสวรรค์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เอนโทรปีแบบพัวพันและเส้นของเพจ สำหรับหลุมดำที่มีสมมาตรทรงกลมในทฤษฎีสนามโน้มถ่วงแบบปรับปรุง (The Entanglement Entropy and Page Curves of The Spherically Symmetric Black Hole in Modified Gravity.)
3 ทศนัท รมโพธิ์เงิน มหิดล การพัฒนาชุดเครื่องมือสาธิตการกระจายกุญแจรหัสทางควอนตัมที่ใช้หลักการโพลาไรเซชันของแสง/Development of polarizationbased demonstration kits for Quantum key distribution
4 พรพิพัฒน์เพ็ชรพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามร การเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติไฮบริดเพียโซ/ไทรโบอิเล็กทริกบนฟิล์มคอมโพสิต BaTiO3/PDMS ที่ปรับปรุงด้วยการเจือรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์/Enhanced performance of hybrid piezo/triboelectric using BaTiO3/polymer composite film modified with rGO
5 พลเศรษฐ ฉึ่น ธีรศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น การเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงในต้นข้าวด้วย คาร์บอนควอนตัมดอท
6 มนัสนันท์ ธนะสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม การสังเกตการณ์แสงสว่างวาบของ SN2023wrk สำหรับการคัดว่าที่คลื่น ความโน้มถ่วง / Optical Transient Observation of SN2023wrk for Gravitational Wave Candidate Exclusion
7 มรรษธร พรหมจันทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปลดล็อกศักยภาพในการชาร์จเร็วโดยการศึกษาผลกระทบของความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้าต่อสัณฐานวิทยาของ แบตเตอรี่ชนิดโลหะโซเดียม/Unlocking the Potential for Fast Charging through Exploration of the Influence of Critical Current Density on the Morphology of Sodium Metal Batteries
8 มัชฌิมา วังพิมล มหาวิทยาลัยขอนแก่น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบจําลองการตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธีการเคลื่อนที่ผ่านหน้า/The development of teaching and learning apparatus based on the simulation of exoplanet detection by the transit method
9 วรดร โสภณอัมพรสุชา มหาวิทยาลัยมหิดล Study of the light production and transmission to observe the efficiency of the range counter particle detector for COMET phase-alpha collaboration
10 วรพล เจนพาณิชย์วงศ์ มหาวิทยาลัยมหิดล พลศาสตร์ของสปินของคิวบิทแบบโมเลกุลที่อุณหภูมิห้อง ด้วยการคำนวณแบบ ab initio
11 ศศิกานต์ สุริยศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม การออกแบบและประมาณค่าสมรรถนะเบื้องต้นของกล้องโทรทรรศน์ 0.8 เมตร แบบริชชี่ เครเทียน สำหรับหอดูดาวภูมิภาค สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ / Preliminary design and performance estimation of the 0.8 m Ritchey–Chrétien telescope for NARIT's public regional observatory.
12 สุภกิจ ชินภักดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลูกบอลเตือนภัย: การตรวจจับก๊าซอันตรายผ่านการโยน/ Safety Alert Smart ball: Detecting Hazardous Gas through Tossing